พื้นเมือง พิกุล (ภาคกลาง); แก้ว (ร้อยเอ็ด,ภาคเหนือ); ซางดง (ลำปาง) กุน พิกุลเถื่อน พิกุลป่า (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mimusops elengi L.
ชื่อวงศ์ SAPOTACEAE
ชื่อสามัญ Asian bulletwood, Bullet wood, Bukal, Tanjong tree,Medlar, Spanish cherry
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับและให้ร่มเงา ลำต้นใช้ในการก่อสร้าง ทำโครง เรือเดินทะเล เครื่องมือการเกษตร เปลือกต้น ต้มอมกลั้วคอ แก้เหงือกอักเสบ เนื้อไม้ที่ราลงมีสีน้ำตาลเข้มประขาว มีกลิ่นหอม เรียกว่า ขอนดอก ใช้บำรุงตับ ปอด หัวใจ และบำรุงครรภ์ ดอก มีกลิ่นหอมจัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า เข้ายาหอม บำรุงหัวใจ แก้เจ็บคอน้ำมันหอมระเหยจากดอกใช้ทาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผลสุก ใช้รับประทานได้ เมล็ด ตำให้ละเอียดทำเป็นยาเม็ดสำหรับสวนเวลาท้องผูก เนื่องจากพิกุลเป็นไม้ขนาดใหญ่ของประเทศใช้ในการก่อสร้าง ทำเฟอร์นิเจอร์ ลำต้นมีเชื้อราทำให้เกิดเป็นโรค เนื้อไม้และมิกโค่นล้านง่าย เมื่อมีพายุในต้นที่มีอายุมากบางต้านพบว่า เนื้อไม้มีกลิ่นหอม เรียกว่า ขวนดอก เกิดจากเชื้อราบางตัว ของขวนตัวก็นำมาเป็นส่วนประกอบของยาหอมได้เช่นเดียวกับดอกพิกุล